เริ่มเล่นภายใน วินาที
สำหรับการลงทุนก่อสร้างรถไฟไทยจีน เมื่อวานนี้ที่ประชุมครม.ยังไม่มีมติใดๆ ออกมา โดยรองนายกรัฐมนตรี ระบุอยู่ระหว่างการร่างรายละเอียดเนื้อหาและเหตุผลความจำเป็นถึงการใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาข้อติดขัด
ซึ่งข้อติดขัดหลายด้านนี้ก็หมายรวมถึงกฎหมายของไทยด้วย เช่น ระเบียบการจัดซื้อ ระเบียบราคากลาง รวมถึงใบอนุญาตมาตรฐานวิศวกรตามกฎหมายของไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีระบุว่า น่าจะสามารถออกประกาศคำสั่งตามมาตรา 44 ในการแก้ไขปัญหาความล่าช้าโครงการรถไฟไทย-จีน ได้ในสัปดาห์หน้า และยืนยันว่าเดินหน้าเรื่องนี้โดยยึดประโยชน์สูงสุดของชาติ ไม่เอื้อประโยชน์ให้ใคร
พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุม ครม.มื่อวานนี้ ยังไม่ได้เป็นการประชุมร่วมกับ คสช. จึงยังไม่มีการเสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.พิจารณาการออก มาตรา 44 เพื่อเร่งดำเนินการรถไฟไทย-จีน
อย่างไรก็ดี ในที่ประชุมครม. นายวิษณุเครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้รายงานในที่ประชุมว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งร่างข้อกฎหมายที่จะใช้อำนาจ มาตรา 44 เพื่อเสนอให้ คสช. พิจารณาในสัปดาห์หน้า
สำหรับการศึกษาข้อมูล พบว่า การดำเนินการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา นั้น พบว่า มีปัญหา 5 ด้านที่สามารถใช้อำนาจ มาตรา 44 ได้ ประกอบด้วย 1.การก่อสร้างต้องใช้สถาปนิกวิศวกรจีนที่เข้ามาดำเนินการ แต่ปัจจุบันพบว่า ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะติดขัดข้อกฎหมายของไทย ที่วิศวกรที่เป็นบุคคลจะต้องสอบใบอนุญาตจากไทยก่อน ยกเว้นกรณีนิติบุคคล
ส่วนข้อติดขัดที่ 2 คือ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ที่ต้องผ่านกระบวนการของซูเปอร์บอร์ด หากวงเงินเกินกว่า 5,000 ล้านบาท
4.การเจรจาจัดซื้อจัดจ้างระหว่างรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยฝ่ายไทยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้ดำเนินการโครงการ แต่ฝ่ายจีน ไม่ได้มอบหมายให้หน่วยงานใดดำเนินการ จึงให้กระทรวงคมนาคมเร่งหารือทางการจีนว่าจะกำหนดให้บริษัทใดของจีนเป็นคู่สัญญา
และปัญหาที่ 5 คือ ในการดำเนินโครงการนั้น ในบางพื้นที่จากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา อาจผ่านเส้นทางป่าสงวน หรือ พื้นที่อื่นที่เป็นส.ป.ก. หรือพื้นที่ที่ต้องใช้เฉพาะการเกษตรเท่านั้น ดังนั้นการใช้พื้นที่ดังกล่าวอาจต้องใช้อำนาจดังกล่าวด้วย
ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมเสนอให้ใช้มาตรา 44 แก้เรื่องระเบียบพัสดุ ระเบียบการจัดซื้อ ระเบียบราคากลาง รวมถึงใบอนุญาตมาตรฐานวิศวกรตามกฎหมายของไทย หลังจากแก้ปัญหาที่ติดขัดเหล่านี้แล้ว ภายในเดือน มิ.ย.นี้ จะเสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการเพื่อเดินหน้าก่อสร้าง
ทั้งนี้มีรายงานว่า คณะทำงานฝ่ายจีนค่อนข้างเครียดกับโครงการรถไฟไทย-จีน เพราะในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา โครงการไม่คืบหน้าอย่างชัดเจน ด้านรัฐบาลไทยค่อนข้างลำบากใจกับความล่าช้าของโครงการและต้องการให้โครงการเดินหน้าได้รวดเร็วมากขึ้น ด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ช่วยแก้ไขปัญหา
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นกรุงเทพฯ-นครราชสีมาหนองคาย วงเงิน 1 แสน 7 หมื่น 9 พัน ล้านบาท