เริ่มเล่นภายใน วินาที
การละเล่น "ผีตาโขน" ที่อ.ด่านซ้าย จ.เลย
การละเล่นผีตาโขน เป็นกิจกรรมหนึ่งในประเพณี "บุญหลวง" ฮีตสิบสอง เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน ในทุกๆ เดือน จะมีงานบุญประเพณี 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 ฮีต นั่นเอง
กำหนดการจัดงาน "ประเพณีบุญหลวง” ที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย จะกำหนดวันภายหลังจากที่มีพิธีบวงสรวงอารักษ์หลักเมืองที่ "หอหลวง” และ "หอน้อย” ขณะที่กระทำพิธีบวงสรวงวิญญาณ อันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต โดยจะเข้าทรงร่างผ่าน "เจ้ากวน” ("เจ้ากวน” คือพิธีกรรมความเชื่อที่ผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางใน การอัญเชิญวิญญาณเจ้าในอดีตเข้าร่างหรือเข้าทรง เป็นผู้กระทำ พิธี) โดยจะมีรับสั่งอนุญาตกำหนดวันในการจัดงานประเพณี บุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนจะกระทำการขออนุญาตกำหนด วันจัดงานพิธีที่ "หอน้อย”งานบุญประเพณีบุญหลวงจัดขึ้นที่ วัดโพนชัย จะเว้นไม่กระทำไม่ได้มีความเชื่อว่าปีใดไม่กระทำ จะมีเภทภัยต่างๆ เกิดขึ้นกับชุมชนชาวด่านซ้าย หลังจากที่มี กำหนดการจัดงานในสมัยก่อนที่จะมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว นิยมจัดงาน 2 วัน คือ วันรวม (วันโฮม) ซึ่งจัดการแสดง การละเล่นผีตาโขนและแห่ขบวนเผวสเข้าเมือง วันที่ ๒ ของงาน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติ เป็นเสร็จพิธี เมื่อมีการส่งเสริม การท่องเที่ยวขึ้นประมาณปี พ.ศ.2535 ทางจังหวัดเลย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ขออนุญาตจาก "เจ้ากวน” เพิ่มวันในการจัดงานบุญหลวงเพิ่มเป็น 3 วัน
"ผีตาโขน” เป็นคำที่เรียกชื่อ การละเล่นชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่น ต้องสวมหน้ากากที่วาดหรือแต้มให้หน้ากลัว โดยชุดแต่ง ผีตาโขนใช้ผ้าเก่า ผ้ามุ้ง หรือใช้เศษผ้านำมาห่อหุ้มร่างกาย ให้มิดชิด ซึ่งจะร่วมเข้าขบวนแห่และแสดงท่าทางต่างๆ ระหว่างที่มีประเพณีบุญหลวง เป็นการละเล่นที่มีเฉพาะใน ท้องที่อำเภอด่านซ้าย
คำว่า "ผีตาโขน” ความหมายเดิมไม่แน่ชัดเท่าที่สืบทราบ แต่เพียงว่า เป็นผีที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว จากการที่สอบถามร่างทรง "เจ้ากวน” ผีตาโขนมาจากคำว่า "ผีตามคน” ตามคนเข้ามาขออาหาร ขอส่วนบุญในเมืองมนุษย์ ทำการเล่นหยอกล้อผู้คนขอข้าวปลาอาหารแล้วก็จะพากันกลับ ยังถิ่นที่อาศัยของตน ในการเล่น "ผีตาโขน” ของชาวด่านซ้าย มีความเชื่อว่า ประการแรก เล่นเพื่อถวายดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจ ในการปกครองสูงสุดในเมืองด่านซ้าย ประการที่สอง เล่นเพื่อร่วมขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง อันเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา ประการที่สาม เล่นเพื่อร่วมขบวนในการแห่บุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) และการแห่ขอฝน ประการที่สี่ เล่นเพื่อความสนุกสนาน ประการสุดท้าย เล่นเพื่อให้สิ่งที่ไม่ดีที่เคยกระทำด้วยกาย วาจา ใจ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้ติดไปกับผีตาโขน โดยการนำไปล่องลำน้ำหมัน เป็นการเสร็จสิ้นพิธีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน